ข่าวเด่นประจำวัน

ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กอ.รมน.จัดกิจกรรม "คำตอบอยู่ที่ตำบล" รุ่นที่ 4 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หวังสร้างเครือข่ายแห่งการแบ่งปัน สู่ตำบลต้นแบบ

Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กอ.รมน.จัดกิจกรรม "คำตอบอยู่ที่ตำบล" รุ่นที่ 4 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หวังสร้างเครือข่ายแห่งการแบ่งปัน สู่ตำบลต้นแบบ

      วันที่ 22 ธันวาคม  2564 ณ ห้องน้ำพราว โรงแรมซี.เอส.ปัตตานี พ.อ.ธารา ปัญญาจันทร์ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ จชต. (ศปนย.จชต.) เป็นประธานเปิดกิจกรรม "คำตอบอยู่ที่ตำบล" รุ่นที่ 4 โดยมีกลุ่มเป้าหมายมวลชนจากพื้นที่ 3 จชต.และ 4 อำเภอ จ.สงขลา เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 130 คน 

      พ.อ.หญิงประภากร เบญจขันธ์ หัวหน้าฝ่ายงบประมาณแผนงานโครงการของศูนย์ประสานงานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า กิจกรรม "คำตอบอยู่ที่ตำบล" มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ พหุวัฒนธรรมชายแดนใต้ เน้นการรวมกลุ่มน้อมนำแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของมวลชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

พ.อ.หญิงประภากร เบญจขันธ์

หัวหน้าฝ่ายงบประมาณแผนงาน โครงการฯ ศูนย์ประสานงานการปฏิบัติที่ 5 กอ.รมน. 

      "เราจัดเป็นครั้งที่ 4 ครั้งสุดท้าย ผู้เข้าร่วม 120 คน กิจกรรมประกอบด้วย การออกบูธ แสดงผลิตภัณฑ์สินค้าได้แก่ กลุ่มประมง การเกษตร หัตถกรรม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ครบทุกมิติ ขอชื่นชมมวลชนในพื้นที่ จชต.มีความกล้าคิด กล้าแสดงออก  บรรยากาศ 3 ครั้งที่ผ่านมา ถือว่าประสบความสำเร็จมาก" พ.อ.หญิงประภากร กล่าวและว่า

      ปกติจะมีมวลชน้ข้าร่วมกิจกรรมครั้งละไม่เกิน 120 คน ครั้งนี้ 140 กว่าคนเราเปิดโอกาสให้ทุกรุ่นจะมาจาก 3 จชต. 4 อำเภอของสงขลา และสตูล มีความหลากหลายของผู้เข้าร่วม หลังจากที่อยู่ร่วมกัน 2 วัน 1 คืน ช่วงท้ายจะมีคณะกรรมการ คัดเลือกกลุ่มมวลชนประมาณ 10 กลุ่มต่อครั้ง เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมที่ 2 การออกแบบพื้นที่ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

      ต้นแบบของพื้นที่ความมั่นคง ในจชต.กำหนดจัดที่จ.สตูล และในพื้นที่ จชต.อีกครั้ง  จากนั้นจะออกแบบเฉพาะพื้นที่ของเผู้เข้าร่วมเอง ประเมินศักยภาพทุนดั้งเดิม ความพร้อมจะพัฒนาอย่างไรให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในตำบลของเขาโดยจะมีผู้ทรงคุณวุฒิ และหน่วยงานเข้ามาร่วมกัน ช่วยกันออกแบบเป็นพี่เลี้ยง

      "กิจกรรมที่ 2 กำหนดจัด 3 วัน 2 คืน จะมีความเข้มข้นมาก วันนี้เหมือนเป็นด่านแรก คัดเหลือ 20 คน 10 กลุ่ม กลุ่มละ 2 คน สังเกตจาก 3 รุ่นที่ผ่านมา กลุ่มมีความหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น กลุ่มหัตถกรรม กลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กลุ่มแปรรูปทางการเกษตร กลุ่มหัตถศิลป์ คาดหวังทุกคน กินดีอยู่ดี ตามแนวทางมีความมั่นคง ในทุกด้าน ไม่ใช่แค่เรื่องความปลอดภัยอย่างเดียว มั่นคงทางด้านอาหาร มั่นคงทางด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความสุขสบาย และความมั่งคั่ง" พ.อ.หญิงประภากร กล่าวและว่า

      การพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้มาแลกเปลี่ยนพัฒนาตนเอง จากที่ไม่มีสติ๊กเกอร์ ได้รับคำแนะนำ

      กลุ่มนี้มีสติ๊กเกอร์ผ่าน อย.ผ่านฮาลาล เขาทำอย่างไร ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยน คือ ความมั่งคั่ง และพัฒนาตัวเอง ความยั่งยืน คือ เป้าหมายที่สำคัญ จะต้องไปให้ถึง พัฒนาตนเองก่อนอย่างต่อเนื่อง

      "เวทีนี้ฝึกให้เขาพัฒนาตนเอง เพื่อได้พื้นที่ต้นแบบ พร้อมขยายผลต่อ มีคนมาศึกษาดูงาน มีหน่วยงานเข้าไปสนับสนุน ช่วยเหลืออยู่เบื้องหลัง สุดท้าย ชุมชนต้องทำเอง เป็นการระเบิดจากข้างใน ตามแนวทางของรัชกาลที่ 9  ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ และ กอ.รมน.ได้น้อมนำแนวทางนี้สู่ประชาชน" พ.อ.หญิงประภากร กล่าวในที่สุด


ภาพ/ข่าว

พัชรา ยิ่งดำนุ่น

สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี

Copyright by PSU Radio Pattani

 

Contact

สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี 107.25 MHz
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
โทรศัพท์ 073 331 277
อีเมล pnpsuradio@gmail.com