ข่าวเด่นประจำวัน

เปิดแล้วสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกาหลีศึกษา ครั้งที่ 7 เผยแพร่องค์ความรู้ด้านเกาหลีศึกษาและส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือการจัดการเรียนการสอนเกาหลีศึกษาในประเทศไทย

Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

H.E.Mr.Lee Wook-heon (นายลี อุก ฮอน) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย

   วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องประชุม โรงแรมบุรี ศรีภู บูติก โฮเต็ล อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา H.E.Mr.Lee Wook-heon (นายลี อุก ฮอน) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้เข้าร่วมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกาหลีศึกษา"The 7th Serminar in Korean Studies Worshop for Thai Educators 2021 โดยมีผศ.ดร.เชิดชัย อุดมพันธ์ รักษาการแทนคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี กล่าวรายงาน และผศ.ดร.วศิน สุวรรณรัตน์ รองอธิการบดี วิทยาเขตหาดใหญ่ กล่าวเปิดงาน ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ครูสอนภาษาเกาหลีชาวไทย และครูสอนกลุ่มวาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เข้าร่วมการสัมมนารูปแบบ hibrid  ผ่านระบบออนไลน์ โปรแกรม Zoom 30 คน รูปแบบ onsite 25 คน ผู้เข้าร่วมสัมมนารวมทั้งสิ้น จำนวน 55 คน และชมผ่าน Facebook Live Page : HUSO PSU จำนวนกว่า 60 คน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิเกาหลี Korea Foundation (KF)

ผศ.ดร.เชิดชัย อุดมพันธ์ รักษาการแทนคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี

   ผศ.ดร.เชิดชัย อุดมพันธ์ รักษาการแทนคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี กล่าวว่า การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกาหลีศึกษาครั้งนี้ เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านเกาหลีศึกษาแก่ ผู้สอนรายวิชาสังคมศึกษา ผู้สอนรายวิชาภาษาเกาหลี และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการจัดการเรียนการสอนเกาหลีศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาของประเทศไทย และส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือการจัดการเรียนการสอนเกาหลีศึกษาในประเทศไทย

"การสอนภาษาเกาหลีในสถานศึกษาในประเทศไทย เริ่มต้นในปี 2529 และพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน มีผู้สนใจศึกษาเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาค โดยมีจุดเริ่มต้นการเรียนการสอน ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี ปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษากว่า 21 สถาบันและสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาอีกกว่า 71 แห่ง ที่เปิดสอนภาษาเกาหลีเป็นวิชาเอกหรือวิชาเลือกเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม" ผศ.ดร.เชิดชัย กล่าวและว่า

   จะเห็นว่าความสนใจและความต้องการเรียนรู้ภาษาเกาหลีและเกาหลีศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาเกาหลีและองค์ความรู้เกาหลีศึกษาเพื่อที่จะสามารถพัฒนาประเทศ เชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือมหาวิทยาลัยและโรงเรียนระดับมัธยมที่เปิดสอนภาษาเกาหลี สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเกาหลีศึกษาของประเทศไทยต่อไปในอนาคต

"การเรียนรู้ภาษาเกาหลีเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาและพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายวิชาการและวิชาชีพรองรับภาคอุตสาหกรรมบริการ การศึกษา การเรียนรู้เทคโนโลยีและวิทยาการต่างๆเพื่อยกระดับและพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายของการพัฒนา และความร่วมมือในด้านต่างๆต่อไป"ผศ.ดร.เชิดชัย กล่าวในที่สุด

ผศ.ดร.วศิน สุวรรณรัตน์ รองอธิการบดี วิทยาเขตหาดใหญ่

   ผศ.ดร.วศิน สุวรรณรัตน์ รองอธิการบดี วิทยาเขตหาดใหญ่ กล่าวตอนหนึ่งว่า ประเทศไทยโชคดีที่มีมิตรประเทศที่ดี คือ สาธารณรัฐเกาหลี หรือ เกาหลีใต้ มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับประเทศไทยมายาวนานกว่า 60 ปี และมีความร่วมมือที่ดีทั้งด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษาและอีกหลายด้าน ทำให้ความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศพัฒนาได้อย่างงดงาม พร้อมกับความต้องการรู้จักประเทศเกาหลีใต้ และเรียนรู้ภาษาเกาหลีเพื่อการสื่อสารในงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มสูงขึ้น

"การเรียนรู้ภาษาเกาหลี และองค์ความรู้เกี่ยวกับเกาหลีศึกษา จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ศึกษาค้นคว้า วิจัย และสร้างสรรค์การพัฒนาต่างๆตลอดจนสร้างประสบการณ์ และความความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชน และองค์กรของทั้งสองประเทศดำเนินการด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ เตรียมพร้อมพื้นฐานด้านทรัพยากรบุคคลไทยให้เข้าถึงองค์ความรู้ทั้งภาษาเกาหลี และเกาหลีศึกษา สิ่งที่สำคัญคือการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและรอบด้าน เป็นโอกาสที่ดีในการจัดสัมมนาครั้งนี้

"เชื่อมั่นว่าทุกท่านได้รับประโยชน์ รับทราบความเคลื่อนไหว และความก้าวหน้าเกี่ยวกับประเทศเกาหลีใต้ และความสัมพันธ์ที่มีกับประเทศไทย รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา และแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาเกาหลี หรือเกาหลีศึกษาในเชิงวิชาการ และวิชาชีพ ปรับปรุงการเรียนการสอนและครูผู้สอนสอดคล้องตามแผนการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ต่อไป" ผศ.ดร วศิน กล่าว

   ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมด้วยว่า หัวข้อที่น่าสนใจช่วงเช้าที่ผ่านมา ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "การส่งเสริมการศึกษาให้กับเยาวชนใน 5 จชต.เพื่อเปิดโลกทัศน์ใหม่เพื่อการพัฒนาการศึกษาภาษาเกาหลีและเกาหลีศึกษา และความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเกาหลีใต้ในฐานะเป็นสมาชิก ASEAN+3 โดย รศ.ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ รองเลขาธิการศอ.บต.

รศ.ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ  รองเลขาธิการ ศอ.บต.

ภาพ/ข่าว

พัชรา ยิ่งดำนุ่น

สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี

Copyright by PSU Radio Pattani

Contact

สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี 107.25 MHz
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
โทรศัพท์ 073 331 277
อีเมล pnpsuradio@gmail.com