ข่าวเด่นประจำวัน

นวัตกรรมตู้ฆ่าเชื้อด้วยแสง UV-C เหมาะใช้งานทุกโอกาส เพื่อสุขอนามัยที่ดีช่วงโควิด

Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

นายสมบัติ นพจนสุภาพ ช่างไฟฟ้าชำนาญงาน  สำนักวิทยบริการ ม.อ.ปัตตานี

   นายสมบัติ นพจนสุภาพ ช่างไฟฟ้าชำนาญงาน สำนักวิทยบริการ ม.อ.ปัตตานี กล่าวว่า สำหรับการทำงานของของตู้ฆ่าเชื้อด้วยแสงUV-C ริเริ่มทำตั้งแต่ปี 2563 ช่วงสถานการณ์โควิดระบาดใหม่ๆ หลักการทำงานจะใช้แสง UV-C ความยาวคลื่นประมาณ 254 nm มาทำลายโครงสร้างของเชื้อโรค ปริมาณของตัวแสง ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสง และระยะเวลา ซึ่งจะมีสูตรคำนวณไว้พอดีสำหรับการใช้งานฆ่าเชื้อโรคได้

   กระบวนการออกแบบตู้ฆ่าเชื้อใช้เวลาไม่นาน วัตถุประสงค์เพื่อใช้งานสำหรับบริการยืม-คืน หนังสือทั่วไปของหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้

สำนักวิทยบริการ ม.อ.ปัตตานี เพราะหนังสือเรา ไม่สามารถใช้แอลกอฮอล์ฉีดฆ่าเชื้อได้ เราจึงได้คิดค้นวิธีการฆ่าเชื้อ ที่เหมาะสำหรับหนังสือ เมื่อทดลองใช้งานแล้ว ไม่มีผลต่อกระดาษ สภาพของหนังสือไม่เปลี่ยนแปลง 

"ตู้แรกที่ทำใช้สำหรับงานภายนอก ใช้เวลาไม่นาน แต่ตู้ที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อภายใน ใช้เวลานานในการทดลองจนมั่นใจในประสิทธิภาพสามารถฆ่าเชื้อได้ 100% และสภาพกระดาษไม่เปลี่ยน" นายสมบัติกล่าวและว่า

ตอนนี้ที่สำนักวิทยบริการ มีจำนวน 2 ตู้ ตู้แรกอยู่ที่

สำนักงานเลขานุการ สำนักวิทยบริการ ใช้งานสำหรับฆ่าเชื้อเฉพาะภายนอก เช่น พัสดุ หีบห่อต่างๆ ใช้งานกับพัสดุชิ้นใหญ่ ส่วนอีกตู้อยู่ที่ด้านหน้าหอสมุดจอห์นเอฟ เคนเนดี้ ใช้สำหรับหนังสือเปิดใช้ภายใน เพื่อฆ่าเชื้อก่อนส่งคืนในชั้นหนังสือ เราออกแบบสำหรับใช้งานภายให้เปิดหนังสือได้ ฆ่าเชื้อจากภายใน

การใช้งาน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ อุปกรณ์ที่เราต้องการจะฆ่าเชื้อ สามารถใช้ได้หมดไม่ว่า จะเป็น โทรศัพท์มือถือ โน้ตบุ๊ค แว่นตา ได้ผ่านการทดลองมาแล้ว วัสดุเป็นแก้ว โลหะ ใช้ได้ แต่จะไม่เหมาะกับประเภทพลาสติก เพราะความร้อนอาจทำให้กรอบ และไม่คงสภาพเดิม ส่วนหนังสือใช้งานได้ ไม่เปลี่ยน เพราะได้คำนวณสูตร ความร้อน ความเข้มของแสง และเวลาไว้อย่างเหมาะสม

งบประมาณในการทำตู้ประมาณหลักพันบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดการใช้งาน และความเข้มของแสงที่ผู้ใช้ต้องการ เนื่องจากหลอด UV-C มีหลายขนาด การใช้งานที่สำนักวิทยบริการ ใช้ความเข้มของแสงมาก อายุการใช้งานมีผลด้วย ซึ่งตู้นี้อายุการใช้งานของหลอด UV-C อยู่ที่ 9,000 ชั่วโมง จากนั้นประสิทธิภาพอาจลดลงไป ต้องเปลี่ยนหลอดใหม่

   การพัฒนาต่อยอดต่อไป ต้องการเน้นการฆ่าเชื้อภายในให้มากกว่าขึ้น โดยเฉพาะบริเวณสันหนังสือ เราฆ่าได้เฉพาะภายในตัวเล่ม แต่ยังมีข้อจำกัดบริเวณสันใน คิดว่าจะพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งานต่อไป

"เรามีโครงการที่จะทำตู้ฆ่าเชื้อให้ทางโรงพยาบาลสนามปัตตานี น่าจะเหมาะในการใช้งาน ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ต่างๆ หีบห่อ อาหารภายนอก ส่วนภายในแสงคงไปไม่ถึง ถ้าเป็นส่วนภายนอกจะฆ่าเชื้อได้หมด ยกเว้นประเภทพลาสติก อาจเกิดปัญหากรอบได้" นายสมบัติกล่าวในที่สุด

ผู้สนใจรับการถ่ายทอดความรู้ หรือ ชมตัวอย่างการใช้งานตู้ฆ่าเชื้อด้วยแสงUV-C สามารถติดต่อได้ที่สำนักวิทยบริการ ม.อ.ปัตตานี

Line: @355dmrmu

Facebook: @OAR.PSU

Facebook: @JFKLibraryPSU

โทร. 088-783-7040 (คุณอมรพรรณ) ในวันและเวลาราชการ

พัชรา ยิ่งดำนุ่น

สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี

เรียบเรียง

 

ขอบคุณภาพ:

สำนักวิทยบริการ ม.อ.ปัตตานี

Contact

สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี 107.25 MHz
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
โทรศัพท์ 073 331 277
อีเมล pnpsuradio@gmail.com