N News

นักวิจัย ม.อ.ปัตตานี ขับเคลื่อนโครงการวิจัยเชิงพื้นที่ นำร่องแก้จน ที่ ต.ปะกาฮะรัง อ.เมือง จ.ปัตตานี

Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

ดร.เอกนรินทร์ เรืองรักษ์  ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา/

อาจารย์ประจำแผนกวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี

   ดร.เอกนรินทร์ เรืองรักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา ม.อ.ปัตตานี /อาจารย์ประจำแผนกวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี กล่าวว่า การขับเคลื่อนแก้จนที่ ต.ปะกาฮะรัง อ.เมือง จ.ปัตตานี เป็นการนำร่องพื้นที่ อาศัยทุนมนุษย์ ทุนทรัพยากร และทุนทางสังคม/วัฒนธรรม ขับเคลื่อนผ่านกลไกเศรษฐกิจพอเพียง โดยเริ่มจาก ครัวเรือน ขยายสู่ชุมชน และตำบล ที่ผ่านมาผลเป็นที่น่าพอใจ มีขยายครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการฯ ผลผลิตที่ได้แบ่งปันภายในชุมชน และเมื่อผลผลิตมากพอ ส่งขายนอกพื้นที่ โดยมีนักศึกษา ร่วมบริหารจัดการขายผ่านออนไลน์

"งานที่ทำเป็นนโยบายของ ม.อ.ปัตตานี โดยรองอธิการบดี วิทยาเขตปัตตานี ได้ให้นโยบายว่า เราช่วย "แก้จน แก้เจ็บ" แก่ชาวบ้านในเขตพื้นที่ที่ดูแลรับผิดชอบในเขตเมืองปัตตานี นำความรู้ทางวิชาการไปหนุนเสริมจากฐานของชุมชนที่มีอยู่แล้ว เพื่อสร้างความยั่งยืน จากกระบวนการเรียนรู้เปลี่ยนความคิด และพฤติกรรมของครัวเรือน และชุมชนเอง" ดร.เอกนรินทร์ กล่าวและว่า

   กระบวนการ เริ่มจากการสำรวจพื้นที่เป้าหมายความยากจน ซึ่งมีหลายพื้นที่ ตนเองนั้นได้รับมอบหมายให้ช่วยดูแลในเขตพื้นที่เมือง ต.ปะกาฮะรัง เนื่องจากผู้บริหารเห็นว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีเกษตร โดยลักษณะพื้นที่ ต.ปะกาะรัง  เป็นในเชิงเกษตร มีความต้องการที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างมาก เราในฐานะนักวิจัยนำความรู้ไปช่วยเติมเต็มร่วมกับชาวบ้าน

   ปัจจัยในการเลือกพื้นที่ เนื่องจากเข้าเกณฑ์ปัญหาความยากจน รายได้ต่อครัวเรือนต่ำกว่าค่าเกณฑ์มาตรฐาน เรามาวิเคราะห์ลักษณะพื้นที่ทางกายภาพ เขามีต้นทุนที่ดี มีการเริ่มต้นทำเกษตรอยู่บ้าง สามารถเกื้อหนุน ทุนมนุษย์ ทุนทางกายภาพ และสังคม ให้สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้

   ความสำเร็จมาจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในชุมชน เริ่มต้นจากระดับครัวเรือน การเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง และการเริ่มต้นลงมือทำ เราช่วยด้านองค์ความรู้ทางวิชาการ การใช้เทคโนโลยี หรือ การทำตลาด เป็นกระบวนการที่เสริม เราเอง

   ก็เรียนรู้จากชาวบ้าน จากฐานความคิด และสิ่งที่ชาวบ้านทำ เช่น ผลไม้บางอย่าง ปลูกมากในชุมชน จะทำอย่างไรที่จะช่วยเพิ่มมูลค่า หรือ ส่งเสริมให้ได้ราคาดี การสร้างเอกลักษณ์ผลผลิตทางการการเกษตรจากพื้นที่ เช่น มะม่วงมาเลย์ ปลูกกันมาก จนเป็นเรื่องปกติของชาวบ้าน แต่คนนอกพื้นที่ยังไม่ทราบว่ามีมะม่วงพันธุ์นี้ เริ่มลองเปิดตลาดกระจายผลผลิตออกสู่ภายนอก ได้รับการตอบรับที่ดี อีกตัวอย่าง เรื่อง กระเจี๊ยบเขียว ผลผลิตจากชุมชนออกสู่ตลาด ได้รับการตอบรับที่ดีมาก มีคุณค่าสูง เหล่านี้เป็นตัวอย่างการจัดการที่เราทำงานร่วมกันกับชุมชน เป็นเหมือนห้องแล็บขนาดใหญ่ที่นักศึกษาของเราได้เรียนรู้ร่วมกันกับชุมชนด้วย การนำโซเซียลมีเดียมาช่วยเพิ่มช่องทางการขาย กระจายผลผลิตจากชุมชนไปสู่เมือง และผู้บริโภค ช่วยสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน และชุมชนได้ดี

พัชรา ยิ่งดำนุ่น

สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี

เรียบเรียง

 

ขอบคุณภาพ:

ดร.เอกนรินทร์ เรืองรักษ์

5 ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด

แบบสำรวจความคิดเห็น

ตัวอย่างแบบสำรวจ?

สมัครรับข้อมูล

ไม่พลาดทุกข่าวสาร ลงทะเบียนสมัครรับข้อมูลจากเราได้แล้ววันนี้!

Contact

สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี 107.25 MHz
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
โทรศัพท์ 073 331 277
อีเมล pnpsuradio@gmail.com