N News

กศน.ปัตตานี ขับเคลื่อนเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับบุคลากร นักศึกษากศน.และประชาชน

Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

นายอุดร สิทธิพาที ผอ.สำนักงานกศน.ปัตตานี

    นายอุดร สิทธิพาที ผอ.สำนักงาน กศน.จ.ปัตตานี กล่าวกับผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานีว่า หลักการสำคัญในการขับเคลื่อนเกษตรทฤษฎีใหม่ "โคก หนอง นา" โมเดล เดิมกศน.ปัตตานี มีฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับศาสตร์พระราชาของรัชกาลที่ 9 สืบสานพระราชปณิธานเพื่อนำศาสตร์พระราชาไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ คือ นายอิทธิเดช รัตนะ และ จ.ส.อ.กิตติพงศ์ แก้วจัตุรัส  ถ่ายทอดความรู้ แนวคิด หลักการสำคัญในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่แก่บุคลากร ครูกศน. นักศึกษากศน.เพื่อขยายผลการเรียนรู้  ต่อยอด และพัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ต่อไป

    "ในปี 2564 สำนักงาน กศน.ปัตตานี  มีแนวทางสืบสาน พระราชปณิธาน ในหลวงรัชกาลที่  9 เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ หรือ โคก หนอง นา โมเดล เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ กับ ภูมิปัญญาชาวบ้าน เรามีความพร้อมในการดำเนินงาน มอบหมายให้ กศน.อำเภอเมืองปัตตานี ประสานวิทยากรและภาคีเครือข่าย ออกแบบ จัดการพื้นที่ให้เป็นโคก หนอง นา โมเดล คาดหวังเพื่อแหล่งเรียนรู้สำหรับบุคลากรภายใน คณะครู อาจารย์ นักศึกษากศน. และประชาชนทั่วไป เข้ามาศึกษา เรียนรู้ ดูงาน ขยายผลในระดับครอบครัว พื้นที่ ตำบล สามารถนำความรู้กลับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน" ผอ.สำนักงาน กศน.ปัตตานี กล่าว

    ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมด้วยว่า ในพื้นที่ของ กศน.อ.เมืองปัตตานี เริ่มมีการปรับสภาพพื้นที่ เพื่อเป็นฐานการเรียนรู้ โดยมี นายอิทธิเดช รัตนะ และ จ.ส.อ.กิตติพงศ์ แก้วจัตุรัส จากมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ วิทยากรบรรยาย ถ่ายทอดความรู้ และการปฏิบัติ ตามแนวคิด หลักการ "โคก หนอง นา โมเดล" เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมซึ่งประกอบด้วย ครูกศน. และบุคลากร มีความรู้ ความเข้าใจ ร่วมกันนำเสนอแนวคิดภาพการพัฒนา ปรับสภาพพื้นที่เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ต่อไป

 

ขอบคุณภาพ จ.ส.อ.กิตติพงศ์ แก้วจัตุรัส

ภาพ/ข่าว

พัชรา ยิ่งดำนุ่น

สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี

รายงาน

5 ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด

แบบสำรวจความคิดเห็น

ตัวอย่างแบบสำรวจ?

สมัครรับข้อมูล

ไม่พลาดทุกข่าวสาร ลงทะเบียนสมัครรับข้อมูลจากเราได้แล้ววันนี้!

Contact

สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี 107.25 MHz
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
โทรศัพท์ 073 331 277
อีเมล pnpsuradio@gmail.com