السبت، 28 أيلول/سبتمبر 2024

ข่าวเด่นประจำวัน

นักศึกษา ม.อ.ปัตตานี เรียนรู้ศาสตร์พระราชา “เกษตรพอเพียง เลี้ยงตนเองได้ ลดการใช้ทรัพยากร เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”

تعطيل النجومتعطيل النجومتعطيل النجومتعطيل النجومتعطيل النجوم
 

นักศึกษา ม.อ.ปัตตานี เรียนรู้ศาสตร์พระราชา

เกษตรพอเพียง เลี้ยงตนเองได้ ลดการใช้ทรัพยากร เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผศ.ดร.เทียนทิพย์ ไกรพรม

อ.ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี

นายฮากีม เจะโด และ นางสาวอานีซ๊ะ อุเซ็งมาเกะ

นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี

นางสาวรวิสรา คงจัน และ นางสาวอันนีส หวังหลี

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี

 "สิ่งที่ได้จากเรียนรู้ศาสตร์พระราชา"

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เทียนทิพย์ ไกรพรม อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี กล่าวว่า รายวิชาศาสตร์พระราชา เป็นรายวิชาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ซึ่งทุกวิทยาเขตจะมีรายวิชานี้  ตนเองรับผิดชอบเกี่ยวกับการเกษตรในศาสตร์พระราชา เกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องของการเกษตร การทำการเกษตรแบบผสมผสาน จะมีรูปแบบการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ อาจปลูกพืชอย่างเดียว หรือ ปลูกพืชหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน หรือว่า เลี้ยงสัตว์หลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน หรือ ปลูกพืช ร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ด้วย "เรานำนักศึกษามาเรียนรู้ในสถานที่จริงสาขาวิทยาการเกษตรและประมง จะมีแปลงสาธิต เรื่องการปลูกพืช และการเลี้ยงสัตว์ นักศึกษาได้ลงไปเรียนรู้จริง ถ้าเป็นเรื่องการเลี้ยงสัตว์ร่วมกับการปลูกพืช จะมีการปลูกหญ้า อาหารสัตว์ รวมถึงการใช้เศษเหลือทางการเกษตร ที่เป็นเศษเหลือของแผนกวิชาตัดแต่งผัก สามารถนำมาเลี้ยงแพะ เลี้ยงวัวได้ เป็นการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากร พอสัตว์กินพวกพืชผัก พวกหญ้าที่เราปลูก จะมีการขับถ่ายส่วนที่เป็นมูลสัตว์ มูลแพะ มูลวัว เอามูลส่วนนี้ไปใส่ให้กับพืชผักอีกครั้ง เป็นการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากร" ผศ.ดร.เทียนทิพย์ กล่าว ทั้งนี้ จิตอาสา 904 จ.ปัตตานี สัมภาษณ์นักศึกษา ม.อ.ปัตตานี ศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติ ประโยชน์ที่ได้เรียนรู้ ช่วยให้นักศึกษาสามารถเข้าใจเรื่องการทำการเกษตรแบบผสมผสานได้อย่างดี ตระหนักเรื่องการนำทรัพยากรหมุนเวียนมาใช้ ลดภาวะเรื่องสภาพแวดล้อม ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้สูงสุด สามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต

 

 

 

ภาพ/ข่าว

พัชรา ยิ่งดำนุ่น

สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี

รายงาน

Contact

สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี 107.25 MHz
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
โทรศัพท์ 073 331 277
อีเมล pnpsuradio@gmail.com