เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ณ หอประชุมสำนักงานอธิการบดี ม.อ.ปัตตานี ดร.บดินทร์ แวลาเตะ รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนานักศึกษา ม.อ.ปัตตานี กล่าวต้อนรับบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด -19 ม.อ.ปัตตานี พร้อมบรรยายแนวทางการทำงาน และบทบาทของบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด -19 เน้นย้ำการทำงานตามกรอบแผนงาน และสร้างคุณค่าคุณประโยชน์แก่ตนเอง และส่วนรวม และถือว่าทุกคน คือ บุคลากรของ ม.อ.ปัตตานี ตามที่ รองศาสตราจารย์อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ รองอธิการบดี วิทยาเขตปัตตานี ได้ฝากถึง บัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด-19 ม.อ.ปัตตานี รุ่นที่ 1 ทุกคน และยินดีต้อนรับทุกคนด้วยความภาคภูมิใจและเชื่อมั่นในศักยภาพของบัณฑิตอาสา
"การสร้างพลังของการเปลี่ยนแปลงในเกิดขึ้นในพื้นที่ จชต. บันฑิตอาสาต้องทำงานกับทุกกลุ่ม เชื่อมประสานการทำงาน ระหว่าง องค์กรชุมชน ผู้นำในพื้นที่ทุกระดับ ชาวบ้าน และมหาวิทยาลัย พร้อมรับฟังปัญหาของชาวบ้าน เพื่อนำมาวิเคราะห์ กำหนดประเด็นในการทำงาน วางแผนงาน และลงมือปฏิบัติร่วมกับทุกฝ่ายในพื้นที่ เป้าหมาย เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านให้ได้รับประโยชน์สูงสุด" ดร.บดินทร์ กล่าวและว่า
ทีม work 5 พลัง กับการทำงาน
1.กำหนดเป้าหมายของกลุ่มให้ชัด
2. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
3.หาจุดแข็งแต่ละคนในการช่วยกันทำงาน ใช้ศักยภาพของแต่ละคนให้เต็มที่ เกิดประโยชน์
4.ประชุมหารือกันในการทำงาน" ดร.บดินทร์ แวลาเตะ กล่าว
ดร.บดินทร์ แวลาเตะ รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนานักศึกษา ม.อ.ปัตตานี กล่าวต้อนรับบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด-19 ม.อ.ปัตตานี
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมด้วยว่า ในวันนี้มีผู้มาลงทะเบียนและรายงานตัวเข้ารับการปฐมนิเทศ จำนวน 110 คน ส่วนใหญ่เป็นบัณฑิตที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจ.ปัตตานี จากจำนวนบัณฑิตอาสาทั้งหมด 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 195 คน และ บัณฑิตอาสา จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส ติดตาม การปฐมนิเทศผ่านระบบ zoom
ว่าที่ร.ต.อิสมาแอ มาหะ ผู้ประสานงานศูนย์อาสาสมัคร/ประธานบัณฑิตอาสา ม.อ ปัตตานี กล่าวรายงาน
ด้าน ว่าที่ ร.ต.อิสมาแอ มาหะ ผู้ประสานงานศูนย์อาสาสมัคร ม.อ.ปัตตานี /ประธานบัณฑิตอาสา ม.อ.ปัตตานี กล่าวรายงาน เน้นย้ำที่มาของโครงการฯ วัตถุประสงค์ และแผนงานโครงการฯ บัณฑิตอาสาจะต้องเข้าใจบทบาท เข้าใจเนื้องาน และลงมือทำเป็นทีมๆละ 5 คน แบ่งงาน และดำเนินการภายในกรอบระยะเวลา 4 เดือน
"บัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด-19 ม.อ.ปัตตานี จำนวน 195 คน รับผิดชอบในพื้นที่ 3 จชต. จ.ปัตตานี 22 พื้นที่ จำนวน 110 คน จ.ยะลา 7 พื้นที่ จำนวน 35 คน และจ.นราธิวาส 10 พื้นที่ จำนวน 50 คน" ว่าที่ร.ต.อิสมาแอ กล่าวและว่า
ดร.บดินทร์ แวลาเตะ รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนานักศึกษา ม.อ.ปัตตานี
บรรยายบทบาทบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด-19 ม.อ.ปัตตานี และความคาดหวัง
การทำงานจะมีบัณฑิตอาสารุ่นพี่ อาจารย์ และทีมงานประจำศูนย์อาสาสมัคร คอยช่วยเหลือ สนับสนุน ให้คำแนะนำในการทำงาน ร่วมกับ ผศ.ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ผู้ออกแบบระบบการทำงานของบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด-19 ม.อ.ทั้ง 5 วิทยาเขต ผ่านระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี Smart Phone แบบออนไลน์ และออฟไลน์ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 รวมทั้งการให้คำแนะนำปรึกษาจาก อาจารย์ปิยะ กิจถาวร ข้าราชการเกษียณ/อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี และอดีตรองเลขาธิการ ศอ.บต.ในประเด็นโจทย์ปัญหากับการทำงานในพื้นที่ชุมชน"ว่าที่ ร.ต.อิสมาแอ มาหะ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า การจ้างงานบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด-19 ครั้งนี้ เป็นรุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการจ้างงานจากกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เพื่อช่วยเหลือบรรเทาปัญหาบัณฑิตว่างงาน และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ โควิด-19 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯจำนวนมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยบันฑิตอาสาสู้ภัยโควิด-19 มีระยะเวลาในการทำงาน 4 เดือน (มิ.ย.-ก.ค.-ส.ค.-กย.2563) ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 9 พันบาท กรอบแผนงานในการทำงานเพื่อช่วยเหลือชุมชน ศึกษาปัญหา วิเคราะห์ปัญหา จัดทำแผนงาน ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน พร้อมรายงานผลการปฏิบัติงาน ซึ่งผลการทำงานของบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด-19 รุ่นที่ 1 จะมีผลต่อการจ้างงานบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด-19 ในรุ่นต่อไป
ช่วงท้าย บัณฑิตอาสาร่วมตั้งคำถามโดยมีดร.บดินทร์ แวลาเตะ และ ว่าที่ ร.ต.อิสมาแอ มาหะ ร่วมตอบข้อซักถาม
ภาพ/ข่าว
พัชรา ยิ่งดำนุ่น
สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี
Copyright by PSU Radio Pattani