บรรยากาศชาวพุทธร่วมทำบุญเนื่องในวันสารทเดือนสิบ (บุญหลัง) ณ วัดแหลมทราย อ.เมือง จ.สงขลา ประชาชนเนืองแน่นร่วมทำบุญ
วันที่ 2 ตุลาคม 2567 ณ วัดแหลมทราย อ.เมือง จ.ปัตตานี ผู้สื่อข่าวติดตามบรรยากาศพิธีทำบุญสารทเดือนสิบ (บุญหลัง) ส่งตายาย หรือ บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ลูกหลานจัดเตรียมสำรับคาว หวาน ขนม ผลไม้ ทำบุญอุทิศบุญกุศลไปให้ "ชิงเปรต" เป็นประเพณีของภาคใต้ที่ทำกันในวันสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีเมืองมนุษย์ 15 วัน โดยมาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวัน "รับเปรต" หรือ วันสารทเล็ก ลูกหลานจัดเตรียมสำรับอาหาร คาว หวาน ขนม ผลไม้ มาเลี้ยงดู และฝากกลับเมืองเปรต ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 นั้นคือวัน " ส่งเปรต " กลับคืนเมือง เรียกกันว่า วันสารทใหญ่
ขนมเดือนสิบ ได้แก่
ขนมลา ขนมลา เชื่อกันว่า "ขนมลา" เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องนุ่งห่ม ผ้าแพร เนื่องจากมีลักษณะคล้ายการถักทอผ้าเป็นร่างแห ที่ลูกหลานต้องการอุทิศให้กับพรรษบุรุษ บางความเชื่อระบุว่า ขนมลา เป็นเสมือนแหที่บรรพบุรุษที่เป็นเปรตจะได้ตกปลา หาสัตว์น้ำ และยังเชื่อกันว่าเป็นขนมชนิดเดียวที่เปรตที่มีปากเท่ารูเข็มสามารถกินได้ ทอดขนมพอง ทอดขนมพอง ลักษณะของขนมพองมีน้ำหนักเบา เป็นแผ่น ลอยน้ำได้ขนมชนิดนี้จึงมีนัยยะเป็นสัญลักษณ์แทน "เรือ" หรือ "แพ" ที่ดวงวิญญาณบรรพบุรุษจะใช้ในการข้ามห้วงมหรรณพ ตามคติความเชื่อตามพระพุทธศาสนา ขนมเจาะหู บางท้องถิ่นเรียกว่า "ขนมเบซำ" "ขนมเมซำ" หรือ "ขนมดีซำ" เป็นขนมที่ใช้ในประเพณี ทำบุญเดือนสิบ เชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์แทนเงินเบี้ยให้ผู้ล่วงลับไปแล้วใช้สอย บางท้องถิ่นเชื่อ ว่าเป็นเครื่องประดับ ใช้เป็นตุ้มหู
ภาพ/ข่าว
พัชรา ยิ่งดำนุ่น
สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี
รายงาน