สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี ร่วมกับ VOA ภาคภาษาไทย และคณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี
จัดเสวนาสะท้อนความคิดและมุมมองแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเสวนา "จริยธรรมในอาชีพ จรรยาบรรณผู้สื่อข่าว ความเข้าใจในงานวารศาสตร์และภาพยนตร์สารคดี"
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้อง บรรยาย B103 คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี ดร.มูฮำหมัดสูไฮมี ยานยา รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี กล่าวต้อนรับวิทยากร คุณรัตพล อ่อนสนิท หัวหน้าภาคภาษาไทย Voice of America (VOA) กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวพบปะนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเสวนาโดยรู้สึกขอบคุณที่นักศึกษาให้ความสนใจและร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เชิญชวนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพูดคุยและถามคำถาม เริ่มต้นจากแนะนำทำความรู้จัก VOA ภาคภาษาไทย การทำงาน และบทบาทที่สำคัญ
ดร.มูฮำหมัดสูไฮมี ยานยา
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี
จากนั้น เป็นการพูดคุยเสวนาเรื่อง"จริยธรรมในอาชีพ จรรยาบรรณผู้สื่อข่าว โดยได้ยกตัวอย่าง มาตรฐานในการทำงานของสื่อที่เปรียบได้กับนักบินที่ต้องมีมาตรฐานการบินผ่านเกณฑ์ประเมิน อาชีพนักข่าวเช่นกันควรต้องได้รับการอบรม ที่ผ่านมามีการตั้ง School of Journalism ที่นิวยอร์ก เป็นการกำหนดมาตรฐานเริ่มต้น ที่สำคัญ แม้เกิดขึ้นมาหลายร้อยปีแล้ว แต่ปัจจุบันยังคงมีความสำคัญอย่างยิ่ง รวมทั้งสถานการณ์ปัจจุบันในประเทศไทย"ในการทำงานของ VOA เรามีหน่วยงานเฉพาะในองค์กร ที่ดูแลเรื่องมาตรฐานและจรรยาบรรณของสื่อ นั้นคือ Best Practice Standards ตรวจสอบว่าสิ่งที่รายงานไปถูกต้องหรือไม่ Fast Check เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเชิงลบได้พูดคุยเรื่องเขาด้วยหรือไม่ มีการอธิบายข้อมูลได้อย่างชัดเจน และรายงานอย่างถูกต้อง" คุณรัตพล กล่าว
คุณรัตพล อ่อนสนิท
หัวหน้าภาคภาษาไทยVoice of America (VOA) Washington, D.C., USA
จากนั้น ผู้เข้าร่วมซึ่งประกอบไปด้วยนักศึกษา และอาจารย์ด้านนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี รับชมภาพยนตร์สารคดี สะท้อนเรื่องราวชีวิตของคู่สามีภรรยาที่ ฝ่ายสามีนั้นเป็น แอลจีบีที (LGBT) ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ทั้งสองใช้ชีวิตคู่ด้วยกัน โดยสามีเป็นชาวยูเครน ภรรยาเป็นคนไทย ทั้งคู่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การสู้รบในยูเครนจนต้องลี้ภัยไปอยู่ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และสุดท้ายตัดสินใจมาอยู่ที่ประเทศไทย เรื่องราวชีวิตทั้งสองสามารถประคองชีวิตคู่และอยู่ด้วยกันด้วยความเข้าใจและสนับสนุนซึ่งกันและกัน แม้จะมีความกังวลใจอยู่มากจากสถานะ ความต้องการ และเพศสภาพของสามี แต่ทั้งคู่สามารถพิสูจน์ให้เห็นเรื่องราวของความรักที่อยู่เหนือความมีขีดจำกัดทางเพศ และบริบททางสังคม นำมาสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราวของชีวิต และความรู้สึกของทั้งสอง รวมทั้งเบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี ประเด็นการเปิดเผยตัวตน เรื่องราวชีวิตส่วนตัว และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เชื่อมโยงไปสู่การทำงานด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพของสื่อ
ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนเนื้อหา ประเด็นได้อย่างน่าสนใจทั้งจากนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนด้านนิเทศศาสตร์ เชื่อมโยงประเด็น "ความเข้าใจในงานวารสารศาสตร์และภาพยนตร์สารคดี" ได้เป็นอย่างดี
ภาพ/ข่าว
พัชรา ยิ่งดำนุ่น
สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี
Copyright by PSU Radio Pattani