เปิดแล้วประชุมวิชาการเกาหลีวิจัยระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 2nd National Conference of Thai Undergraduate on Korean Research เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และยกระดับมาตรฐานผลงานทางวิชาการสำหรับนักศึกษา
วันที่ 2 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมกระบี่รีสอร์ท อ.เมือง จ.กระบี่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชิดชัย อุดมพันธ์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี เปิดการประชุมวิชาการเกาหลีวิจัยระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 2nd National Conference of Thai Undergraduate on Korean Research โดยมี ดร.คิม แทอู อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเกาหลี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวรายงาน เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางวิชาการของนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ พัฒนาคุณภาพงานวิชาการในการทำวิจัยของนักศึกษ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา โดยมีนักศึกษาจาก 6 สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมนำเสนอบทความวิจัย รวม 6 ผลงาน ในรูปแบบการบรรยาย ภาคภาษาไทย และภาษาเกาหลี นำเสนอในรูปแบบออนไลน์ และออนไซต์ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมวันที่ 2-3 ธันวาคม 2565 ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์ รวม 130 คน
ผศ.ดร.เชิดชัย อุดมพันธ์
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี ประธานเปิดงาน
วันแรก ภาคเช้า บรรยายพิเศษ เรื่อง "การแนะแนวการทำวิจัยเกาหลีศึกษาเพื่อนักศึกษาไทย" โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ดำรงค์ ฐานดี อดีตผู้อำนวยการศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัย รามคำแหง ปัจจุบันนักวิชาการอิสระ/ที่ปรึกษาสถาบันเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นเป็นการนำเสนอผลงานของนักศึกษาในรูปแบบการบรรยาย (Oral Presentation) ภาคภาษาไทย ช่วงที่ 1 หัวข้อ การวิเคราะห์ลักษณะทางวากยสัมพันธ์ และความหมายของคำกริยา นำเสนอโดย นางสาวสุพรรณษา อาษาพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นำเสนอผ่านออนไลน์ หัวข้อ"บทบาทและอิทธิพลของลัทธิขงจื้อ ต่อพลวัตทางการเมืองของเกาหลีใต้ นำเสนอโดย นางสาวสิริลดา เที่ยงตรง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.คิม แทวู อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาภาษาเกาหลี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี/ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวรายงาน
ภาคบ่าย นำเสนอการบรรยาย (Oral Presentation) ช่วงที่ 2 หัวข้อ"ศึกษาเปรียบเทียบไวยกรณ์พ้องความหมายภาษาเกาหลี : กรณีศึกษาไวยกรณ์ที่มีความหมายแสดงการคาดเดา"นำเสนอโดย นายบดินทร์ แจ่มศรีแก้ว มหาวิทยาลัยศิลปากร และหัวข้อ "Soft power: ปัจจัยในการพัฒนาประเทศของสาธารณรัฐเกาหลี" นำเสนอโดย นางสาวชินาภา อิศรางกูร ณ อยุธยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปิดท้ายวันแรก บรรยายพิเศษ เรื่อง "การศึกษาและการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยในประเทศเกาหลีใต้ผ่านมุมมองของนักศึกษาชาวไทย" โดย ดร.กรนภา บุญพิสุทธิ์ศิลป์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และตอบคำถามชิงรางวัลพิเศษสำหรับผู้เข้าร่วมการประชุม
# ประชุมวิชาการเกาหลีวิจัยระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 วันที่ 2-3 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมกระบี่รีสอร์ท อ.เมือง จ.กระบี่
# 2nd National Conference of Thai Undergraduate on Korean Research
# จัดโดย หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเกาหลี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี
ภาพ/ข่าว
พัชรา ยิ่งดำนุ่น
สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี
Copyright by PSU Radio Pattani