N News

แพทย์ระบุ เด็กไทยสมาธิสั้นเพิ่มขึ้น แนะผู้ปกครองเลี้ยงลูกอย่างถูกวิธี ควรลดพฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตลง

Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

  นพ.อรรถสิทธิ์ แดงมณี นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา กล่าวกับสถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานีว่า สมาธิสั้น เป็นโรคขาดสมาธิในการจดจ่อตั้งใจทำสิ่งใดให้สำเร็จ ขี้ลืม ไม่ใส่ใจคำสั่ง อยู่ไม่นิ่ง ไม่ชอบอยู่กับที่ ไม่อดทน หุนหันพลันแล่น โดยผู้ป่วยอาจจะมีอาการตั้งแต่ช่วงอายุ 3-6 ปี โดยอาการจะแสดงอย่างชัดเจนและวินิจฉัยได้ในช่วงอายุ 6-12 ปี เนื่องจากเป็นช่วงที่ต้องเริ่มเข้าโรงเรียนต้องทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เริ่มสื่อสารและเข้าสังคม เด็กสมาธิพบมากที่สุดในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงในอัตราส่วน 3 ต่อ 1

  นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุชัดเจนว่าการเกิดโรคสมาธิสั้นเกิดจากสาเหตุใด เพราะถึงแม้พฤติกรรมน่าสงสัยที่เข้าข่ายโรคสมาธิสั้น แต่อาจเป็นเพียงพัฒนาการตามช่วงวัยเท่านั้น  ซึ่งเด็กที่มีพฤติกรรมตามวัย อย่างซุกซน อยู่ไม่นิ่ง ไม่เชื่อฟัง หากไม่ได้มีอาการตามเกณฑ์วินิจฉัยของโรคสมาธิสั้น แสดงว่าเด็กไม่ได้เป็นโรคสมาธิสั้น อาการจะดีขึ้นหรือหายไปเมื่อโตขึ้นหรือเมื่อเวลาผ่านไป  ในขณะที่อาการของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะยังคงอยู่ต่อไปจนโตเป็นผู้ใหญ่ และเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลอย่างเหมาะสม

  ทั้งนี้อาการของผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นอาจยังคงอยู่ตลอดจนเข้าสู่วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยรูปแบบอาการอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อยตามวัย และตามการรักษาดูแลที่ผู้ป่วยได้รับ หรืออาจยังมีบางอาการที่ยังคงอยู่และกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน การแสดงพฤติกรรมของโรคสมาธิสั้นมี 2 รูปแบบหลัก คือ การขาดสมาธิในการจดจ่อหรือตั้งใจทำสิ่งใด และการอยู่ไม่นิ่งและมีความหุนหันพลันแล่น โดยเด็กอาจมีพฤติกรรมรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่มักปรากฏพฤติกรรมทั้ง 2 รูปแบบรวมกัน โดยพฤติกรรมเหล่านั้นจะเป็นอุปสรรคที่ส่งผลให้เกิดความยุ่งยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน การเรียน การเข้าสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

  อย่างไรก็ตามผู้ปกครอง และสมาชิกในครอบครัวสามารถรักษาอาการสมาธิสั้นให้ดีขึ้น โดยการลดพฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตลง ควรจะรักษาที่มีประสิทธิผลสูงสุด คือ รักษาด้วยยาควบคู่กับการบำบัด แต่ไม่ได้ทำให้อาการหายขาดไปได้อย่างถาวร

5 ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด

แบบสำรวจความคิดเห็น

ตัวอย่างแบบสำรวจ?

สมัครรับข้อมูล

ไม่พลาดทุกข่าวสาร ลงทะเบียนสมัครรับข้อมูลจากเราได้แล้ววันนี้!

Contact

สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี 107.25 MHz
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
โทรศัพท์ 073 331 277
อีเมล pnpsuradio@gmail.com