N News

จ.ปัตตานี ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี และคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคจังหวัดปัตตานี (ศปก.จ.ปัตตานี) ครั้งที่ 5/2565 ติดตามคลัสเตอร์โรงงาน และมาตรการผ่อนคลายสถานศึกษาเพื่อกลับมาเรียน Onsite

Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

นายนิพันธ์ บุญหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี

   วันที่ 31 มกราคม 2565 ณ ห้องประชุมพญาตานี ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดปัตตานี นายนิพันธ์ บุญหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี และคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคจังหวัดปัตตานี (ศปก.จ.ปัตตานี) ครั้งที่ 5/2565  โดยก่อนเริ่มวาระการประชุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวห่วงใยคลัสเตอร์ที่พบในโรงงาน พร้อมกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประสานข้อมูลการสอบสวนโรคให้เป็นข้อมูลเดียวกัน ติดตามผู้ที่มีความเสี่ยงสัมผัสสูง และให้อุตสาหกรรมจังหวัดประสานจัดหางานและแรงงานจังหวัดเพื่อรวบรวมข้อมูลทะเบียนแรงงานไทยและต่างด้าวให้เป็นปัจจุบัน สามารถใช้ข้อมูลร่วมเพื่อการติดตามเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการระบาดของโรคในกลุ่มสถานประกอบการโรงงาน และแพปลาทั้งหมดได้

ที่ประชุมรายงานด้วยว่า พบพนักงานติดเชื้อโควิด-19 ในโรงงานปัตตานีผลิตภัณฑ์อาหาร จำนวน 20 ราย (ตั้งแต่ 24-28 ม.ค.2565) คัดกรองพนักงานด้วยวิธีการซักประวัติและตรวจคัดกรองโดย ATK ทั้งหมด 960 คน พนักงานเสี่ยงสูงทั้งหมด จำนวน 13 คน พนักงานเสี่ยงต่ำ จำนวน 614 คน และพนักงานที่ไม่เสี่ยง จำนวน 333 คน

วันที่ 27-28  มกราคม 2565 อสจ.ปัตตานี พร้อมปลัดอาวุโส และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดและตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และดำเนินการตามมาตรการ Bubble and seal เพื่อให้สามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ของพนักงานบริษัทปัตตานีผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัดไม่ให้แพร่กระจายไปยังชุมชนได้

จากการสอบสวนโรคที่ใกล้ชิดหรือสัมผัสเสี่ยงผู้ติดเชื้อ ตั้งแต่วันที่ 24-28 มกราคม 2565 พบในแผนกฆ่าเชื้อ คลังสินค้า เตรียมวัตถุดิบ และไลน์การผลิต มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จำนวน 13 ราย และได้ดำเนินการกักตัวผู้ที่เสี่ยงสูงไว้ทั้งหมดภายในบ้านพักพนักงาน และในโรงงานแยกกักรอสังเกตอาการ ภาพรวมการติดเชื้อของพนักงานในโรงงานปัตตานีผลิตภัณฑ์อาหาร คิดเป็น 1.78%

ที่ประชุมยังได้ติดตามรายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดปัตตานี สถานการณ์ระดับโลก ภูมิภาค ประเทศ จังหวัด และอำเภอ รวมทั้งสรุปสาระสำคัญหนังสือสั่งการของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.)

จากนั้นเป็นการรายงานผล ปัญหาอุปสรรค/ข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี 7 คณะ

1) ด้านการป้องกันการติดเชื้อ

1.1) คณะอนุกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี ด้านการป้องกันการติดเชื้อ

(1) การตั้งด่านตรวจ 112 ตำบล

(2) การตรวจคัดกรองวัคซีนในท่าเทียบเรือ/ตลาดนัด 124 แห่ง

(3) วัคซีน

-รายงานการฉีดวัคซีน จังหวัดปัตตานี

-ผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกรายอำเภอ

-ความครอบคลุมวัคซีน แยกรายตำบล จังหวัดปัตตานี

-ข้อมูลการฉีดวัคซีนในกลุ่มนักเรียน อายุ 12 ปีขึ้นไป (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 1-3 สนง.สพม.ปัตตานี สนง.กศน.ปัตตานี โรงเรียนสังกัด อปท.และสังกัด สช.

-การดำเนินงานในภาคธุรกิจเอกชน

(4) ผลการปฏิบัติงานการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เชิงรุก

(5) มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (Covid Free Setting)

-การประเมินตนเองตามมาตรการ  (Covid Free Setting) จังหวัดปัตตานี และรายอำเภอ

1.2) ผลการปฏิบัติงานของ ศปก.จังหวัด ด้านการป้องกันการติดเชื้อ

(1) การตั้งด่านตรวจ/จุดสกัด รายอำเภอ

(2) ผลการฉีดวัคซีน รายอำเภอ

(3) ผลการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) รายอำเภอ

2) ด้านการควบคุมการแพร่ระบาด

2.1) คณะอนุกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี ด้านการควบคุมการแพร่ระบาด

(1) มาตรการควบคุมโรคเฉพาะพื้นที่ ( Bubble and Seal)

(2) รายงานสถานการณ์การพบเชื้อโควิด-19 ในพนักงานโรงงานปัตตานีผลิตภัณฑ์อาหาร

(3) การดำเนินงานเคลื่อนที่เร็วเบ็ดเสร็จ ค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชน (Comprehensive Covid-19 Response Team:CCRT)

(4) Local Quarantine

3) ด้านการรักษาผู้ติดเชื้อ

3.1) คณะอนุกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี ด้านการรักษาผู้ติดเชื้อ

(1) การใช้เตียง จำแนกระดับสี และการบริการจัดการโรงพยาบาลสนามแบบโซน

(2) ผลการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยแบบ Home Isolation

4) ด้านการเยียวยา

4.1) คณะอนุกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี

สรุปผลการดำเนินการมาตรการ และวางแผนการช่วยเหลือ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ภาพจังหวัดและอำเภอ

-กลุ่มประชาชนทั่วไปจำแนกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

-ด้านการดำรงชีพ

-ด้านสังคมสงเคราะห์

-กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19

5) ด้านการเตรียมความพร้อมสำหรับมาตรการผ่อนคลาย

5.1) คณะอนุกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี ด้านการเตรียมความพร้อมสำหรับมาตรการผ่อนคลาย

(1) รายชื่อสถานศึกษาที่อำเภอเสนอคณะทำงานกลั่นกรองการประเมินความพร้อมของสถานศึกษาก่อนการเปิดการเรียนการสอนแบบ On-site ระดับจังหวัดปัตตานี  3 อำเภอ รวม 7 โรงเรียน (กำหนดการประเมินวันที่ 3 กุมภาพันธ์) ได้แก่ อ.ปะนาเระ โรงเรียนวัดศรีสุดาจันทร์ อ.ยะหริ่ง โรงเรียนชุมชนวัดป่าศรี โรงเรียนชุมชนวัดปิยาราม อ.โคกโพธิ์ โรงเรียนบ้านนาค้อใต้ โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดวัดช้างไห้ โรงเรียนบ้านท่าเรือ และโรงเรียนสันติศาสน์วิทยา

(2) การเพิ่มเติมคณะทำงานกลั่นกรองการประเมินความพร้อมของสถานศึกษาก่อนการเปิดการเรียนการสอนแบบ On-site ระดับจังหวัดปัตตานี (เดิมมี 3 คณะ เพิ่มเติมเป็น 9 คณะ) เพื่อให้คลอบคลุมพื้นที่ทั้ง 12 อำเภอ และรองรับการขอเปิดโรงเรียนทุกสังกัดที่มีแนวโน้มจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้การประเมินฯมีความคล่องตัวมากขึ้นและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

(3) การใช้สถานที่ของวิทยาลัยเทคนิคปัตตานีเพื่อดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุ และแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย

(4) ข้อเสนอการเปิดการเรียนการสอน

แบบ On-site (จากมติการประชุมของหน่วยงานทางการศึกษาทุกสังกัดในจังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565

6) ด้านข้อมูล ประชาสัมพันธ์ และรับเรื่องร้องเรียน

6.1) คณะอนุกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตานี ด้านข้อมูล ประชาสัมพันธ์ และรับเรื่องร้องเรียน

(1) ผลการดำเนินงานในรอบสัปดาห์ จังหวัดปัตตานี

6.2) ผลการปฏิบัติงานของ ศปก.จังหวัด ด้านข้อมูลประชาสัมพันธ์

(1) ผลการดำเนินงาน รายอำเภอ

7) ด้านกำกับติดตามการบังคับใช้กฎหมาย

7.1) คณะอนุกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี ด้านกำกับติดตามการบังคับใช้กฎหมาย

-ออกตรวจและกวดขันให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกนอกเคหสถาน จำนวน 76 ครั้ง 

-ออกตรวจและกวดขันตลาดนัด ตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 31 ครั้ง

 -ออกตรวจและกวดขัน ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มสามารถเปิดให้บริการโดยให้นั่งทานในร้านไม่เกิน 23.00 น.จำนวน 25 ครั้ง 

-ออกตรวจและกวดขัน ร้านจำหน่ายอาหารเครื่องดื่มผู้ประกอบการและพนักงาน ต้องได้รับวัคซีนมาแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม ส่วนผู้ใช่บริการหรือลูกค้าต้องได้รับวัคซีนมาแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม จำนวน 29 ครั้ง

-ออกตรวจและกวดขัน การจำกัดจำนวนผู้นั่งบริโภคในร้าน หากเป็นการบริโภคในห้องปรับอากาศให้มีจำนวนไม่เกินร้อยละ 50 ของจำนวนที่นั่งปกติ แต่หากเป็นการบริโภคในพื้นที่อากาศเปิดที่อากาศสามารถถ่ายเทได้ เช่น ร้านอาการขนาดเล็ก หาบเร่ แผงลอย รถเข็น ให้มีจำนวนผู้บริโภคไม่เกินร้อยละ 75 ของจำนวนที่นั่งปกติ จำนวน 12 ครั้ง

ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา

4.1 มาตรการผ่อนคลาย หรือเข้มงวดตามคำสั่งจังหวัดปัตตานี

(1) การขออนุญาตดำเนินการสอบของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ณ ม.อ.ปัตตานี

(2) การขออนุญาตใช้โรงเรียนเพื่อจัดสอบการทดสอบการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

4.2 เรื่องอื่นๆ ที่คณะอนุกรรมการนำเข้าเพื่อพิจารณา (ถ้ามี)

ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆเพื่อการหารือ และประสานงาน

ภาพ/ข่าว

พัชรา ยิ่งดำนุ่น

สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี

Copyright by PSU Radio Pattani

5 ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด

แบบสำรวจความคิดเห็น

ตัวอย่างแบบสำรวจ?

สมัครรับข้อมูล

ไม่พลาดทุกข่าวสาร ลงทะเบียนสมัครรับข้อมูลจากเราได้แล้ววันนี้!

Contact

สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี 107.25 MHz
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
โทรศัพท์ 073 331 277
อีเมล pnpsuradio@gmail.com