N News

กศน.อำเภอเมืองปัตตานี จัดกิจกรรมเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง "ดำนา ห่มดิน ทำปุ๋ยหมัก"เกษตรทฤษฎีใหม่ โคก หนอง นา โมเดล

Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

    วันที่ 4 ธันวาคม 2563  นายอุดร สิทธิพาที ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดปัตตานี เป็นประธาน

    เปิดโครงการเศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้โคก หนอง นา โมเดล สู่การพัฒนา ที่ยั่งยืน ณ ห้องประชุม ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเมืองปัตตานี โดยมี นางสาววิรวรรณ มูลจันที ผอ.กศน.อ.เมืองปัตตานี กล่าวรายงาน วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมวันนี้เป็นการน้อมนำพระราโชบายไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ ความพอเพียง การบริหารจัดการพื้นที่การเกษตร สอดประสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้านให้สอดคล้องกัน โดยแบ่งพื้นที่ใช้ประโยชน์ในการปลูกพืช ต้นไม้ ให้มีอยู่ มีใช้ ให้สมบูรณ์ และสามารถพัฒนาตนเอง มีความรู้ความเข้าใจโคก หนอง นา โมเดล เข้าใจเรื่องปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำ และเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้โคก หนอง นา

นางสาววิรวรรณ มูลจันที ผอ.กศน.อ.เมืองปัตตานี

   ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำสตรี ปราชญ์ชาวบ้าน 130 คน กิจกรรม "เอามื้อปลูกข้าว ปล่อยปลา ฐานการเรียนรู้ การทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำ" เครือข่ายที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สนับสนุนครูพาทำ นายอิทธิเดช รัตนะ หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 25 สนับสนุนครูพาทำ จ.ส.อ.กิตติพงศ์ แก้วจัตุรัส เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการพลเรือน ฉก.ปัตตานี 25 เรือนจำกลางปัตตานี จัดสถานที่ศึกษาดูงาน โคก หนอง นา สำนักงานที่ดินปัตตานี สนับสนุนหญ้าแฝก สถาบันวิจัยฯ สนับสนุนพันธุ์เผือก โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ บ.น้ำดำ อ.หนองจิก สนับสนุนหญ้าแฝก และภาคีเครือข่ายพื้นที่ อ.มายอ และ อ.โคกโพธิ์ สนับสนุนพันธุ์ข้าว เพาะพันธุ์กล้าไม้ ปัตตานี สนับสนุนพันธุ์ไม้ยืนต้น

 นายอุดร สิทธิพาที ผอ.สนง.กศน.จ.ปัตตานี  กล่าวเปิดงาน

    นายอุดร สิทธิพาที ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดปัตตานี กล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้กศน.ปัตตานี ได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงได้พระราชทานปรัชญานี้มายาวนาน นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนประเทศ เป็นสิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็น กศน.ปัตตานี ได้น้อมนำเป็นแนวทางในการทำงาน สืบสานศาสตร์พระราชา เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และพัฒนาอย่างยั่งยืน

จ.ส.อ.กิตติพงศ์ แก้วจัตุรัส ครูพาทำ บรรยายที่มา  "โคก หนอง นา "

    ด้านจ.ส.อ.กิตติพงศ์ แก้วจัตุรัส เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการพลเรือน หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 25 /เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ อดีตผู้จัดการฟาร์มตัวอย่างฯบ.น้ำดำ ต.ปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี กล่าวบรรยายที่มาของคำว่า"โคก หนอง นา" คำว่า "โคก" เป็นการจัดทำพื้นที่การเกษตรให้สอดคล้องกับพื้นที่ของชาวบ้าน ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง "หนอง" การเลี้ยงปลาในพื้นที่การทำการเกษตร "นา" เป็นเรื่องการใช้ธรรมชาติ อินทรีย์วัตถุเป็นปุ๋ย มองในหลักการ พื้นที่ 4-5 ไร่ สามารถจัดการพื้นที่โดยยึดหลักภูมิศาสตร์ เรื่องของดิน เรียนรู้ลักษณะของดิน ปลูกอะไรได้บ้าง แต่ละพื้นที่จะมีลักษณะดินที่แตกต่างกันออกไป น้ำต้องเพียงพอ เก็บกักได้ตลอดปี ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานศาสตร์พระราชา ในการบริหารจัดการน้ำที่เพียงพอ และมีใช้ตลอด เราต้องรู้จักเรื่อง "ดิน น้ำ ลม ไฟ" การสร้างบ้าน ปลูกต้นไม้บนโคก ที่สูง  แสงอาทิตย์ที่สาดส่องเข้ามา สอดรับกับประเภท พันธุ์ไม้ ชนิดที่ปลูก เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่ และประโยชน์ตามความต้องการของชุมชนเป็นหลัก

นายอิทธิเดช รัตนะ ครูพาทำ แนะนำขั้นตอนการห่มดิน

    หลังจากนั้น ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ร่วมในพิธีดำนาปฐมฤกษ์ ณ แปลงเกษตร โคก หนอง นา โมเดลกศน.อ.เมืองปัตตานี กิจกรรมเรียนรู้:โคก หนอง นา โมเดล โดยมีผู้แทนจากส่วนราชการ อำเภอเมืองปัตตานี เรือนจำกลางปัตตานี หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 25 หน่วยเฉพาะกิจสันติสุข มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ภาคีเครือข่าย กศน. บัณฑิตอาสา ผู้บริหารอบต. ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องที่ อำเภอเมืองปัตตานี ร่วมในพิธี เรียนรู้การดำนาข้าว การห่มดินด้วยฟางข้าว และวิธีการทำปุ๋ยหมัก โดยมีวิทยากรครูพาทำ นายอิทธิเดช รัตนะ และ จ.ส.อ.กิตติพงศ์ แก้วจัตุรัส เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ และนำฝึกปฏิบัติ ณ พื้นที่แปลงเกษตร ภายในสำนักงาน กศน.จังหวัดปัตตานี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างวิถีชีวิตที่ยั่งยืนต่อไป

ภาพ/ข่าว

พัชรา ยิ่งดำนุ่น

สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี

Copyright by PSU Radio Pattani

5 ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด

แบบสำรวจความคิดเห็น

ตัวอย่างแบบสำรวจ?

สมัครรับข้อมูล

ไม่พลาดทุกข่าวสาร ลงทะเบียนสมัครรับข้อมูลจากเราได้แล้ววันนี้!

Contact

สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี 107.25 MHz
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
โทรศัพท์ 073 331 277
อีเมล pnpsuradio@gmail.com