N News

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สรุปผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้แนวคิด Cross Cultural Turn Thai Wisdom to International

Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2563 เวลา 10.00 น.ที่ห้องน้ำพราว 1 โรงแรมซีเอส จังหวัดปัตตานี นายปรีชา ชนะกิจกำจร รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วย นางสุดา ยังให้ผล ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานี อุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส แขกผู้มีเกียรติ และผู้ประกอบการสิ่งทอ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วม

นางสุดา ยังให้ผล ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวกับสถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานีว่า กระทรวงอุตสาหกรรม มอบหมายให้สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดทำโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และแฟชั่นด้วยการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเสนอถึงความสำเร็จ และได้แสดงผลงานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและแฟชั่น ด้วยการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ โดยนำจุดเด่นเอกลักษณ์ของเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายชายแดนใต้ผสมผสานนวัตกรรม ไอเดียร์ร่วมสมัย และร่วมผลักดันขยายตลาด ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ ภายในงานจัดให้มีการแสดง Mini Fashion Show จากผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการ และการจัดสัมมนาหัวข้อ โอกาสของ SMEs ไทยสู่ตลาดมาเลเซีย โดยมีนักออกแบบแฟชั่นจากประเทศมาเลเซีย เข้ามาคัดเลือกผลิตภัณฑ์ไปจัดแสดง ณ ห้างสรรพสินค้า Avenue ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

 

ทั้งนี้ปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของผู้ประกอบการท้องถิ่นของไทยส่วนใหญ่เป็นการผลิตจำกัด ในระดับวิสาหกิจชุมชนทำให้ผลิตได้ในจำนวนน้อย และขาดการกระตุ้นความต้องการของตลาดในประเทศ ทำให้มีตลาดจำกัดเฉพาะกลุ่ม ผู้บริโภคยังไม่นิยมหรือตระหนักในคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมากนัก

    ขณะที่ชุมชนเองมักผลิตสินค้ารูปแบบเดิมและจำหน่ายในระดับราคาต่ำ ขาดการพัฒนาสินค้าทำให้สินค้าไม่มีความหลากหลายและไม่มีความโดดเด่น ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สิ่งทอและผู้ประกอบการ นจังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า 500 ราย ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลพบว่าร้อยละ 63 เป็นผู้ประกอบการที่ผลิตเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายมุสลิม ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 37 เป็นผู้ประกอบการที่ผลิตผ้าทอพื้นเมืองผ้าบาติกผ้ามัดย้อม เคหะสิ่งทอ และสินค้าแปรรูปจากสิ่งทอ ด้วยเหตุนี้กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้มอบนโยบายให้สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดทำโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและแฟชั่นด้วยการออกแบบเชิงสร้างสรรค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในพื้นที่ชายแดนใต้ขึ้นโดยวางพื้นที่เป้าหมายของโครงการ Cross Cultural Turn Thai Wisdom to International ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 40 กลุ่ม 257 คน ซึ่งผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการออกแบบ ผลิตภัณฑ์และการตลาดเพื่อนำความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ บวกกับคุณสมบัติพิเศษของวัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น การเลือกใช้วัสดุในการออกแบบให้เหมาะกับการใช้งาน ตอบสนองประโยชน์ การใช้งาน และมีอัตลักษณ์เฉพาะตัว อธิการสร้างสรรค์จากวัฒนธรรม หรือผสมผสานรูปแบบที่มีความร่วมสมัย ให้สามารถตอบสนองรูปแบบในการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันได้ ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 

    สำหรับผลิตภัณฑ์มีทั้งหมด 59 ผลิตภัณฑ์ 12 Collection ประกอบด้วย Beramas The color that nature brings Fragility Nang-ta-lung The banana clover design Natural Embroidery Bag PABAJA Southern X Northern Light with Shodow Timeless Colors-block in pattern graphic และ Flower in the crack of Stone ซึ่งแต่ละคอลเลคชั่นนั้น จะมีคอนเซ็ปต์ในการออกแบบีมสีที่ชัดเจน และการออกแบบผลิตภัณฑ์จะเน้นความคิดเชิงสร้างสรรค์ และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมโดยการนำต้นทุนท้องถิ่นผสมผสานกับเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในผลสำเร็จที่ได้จากโครงการนี้ นอกจากจะเกิดการรวมกลุ่มของกลุ่มผู้ประกอบการสิ่งทอ พี่สามารถพัฒนาและต่อยอดสร้างเป็นอาชีพที่มั่นคงได้ยังเพิ่มโอกาสให้การจ้างงานที่มั่นคงและสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน 

 

 

 

 

 

5 ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด

แบบสำรวจความคิดเห็น

ตัวอย่างแบบสำรวจ?

สมัครรับข้อมูล

ไม่พลาดทุกข่าวสาร ลงทะเบียนสมัครรับข้อมูลจากเราได้แล้ววันนี้!

Contact

สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี 107.25 MHz
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
181 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
โทรศัพท์ 073 331 277
อีเมล pnpsuradio@gmail.com